ตารางรายงานผลการแข่งขันกีฬายูยิสสูประจำเดือน สิงหาคม 2562

ชื่อการแข่งขัน : ยูยิตสู ไทยแลนด์​ โอเพ่น​​ กรังด์ปรีซ์ 2019 (ตัวแทนทีมชาติไทย U18) เก็บคะแนนโลก

สถานที่ : ศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยรังสิต

วันที่ : 10-11 สิงหาคม 2562

# ชื่อเล่น ชื่อ – นามสกุล ประเภท ผลการแข่งขัน รางวัล รุ่น(อายุ) รุ่น(น้ำหนัก) เพศ
1 โดนัท ขนิษฐา ไพโรจน์กุลมณี FIGHTING (U18 THA) อันดับ 3 ทองแดง 16 -63 หญิง
2 โดนัท ขนิษฐา ไพโรจน์กุลมณี NEWAZA (U18 THA) อันดับ 3 ทองแดง 16 -63 หญิง
3 ซี ภาษิต  แซ่เล่า NEWAZA (U18 THA) ไม่ได้แข่งป่วยไข้เลือดออก 16 -50 ชาย
4 เบส ณัฐพงษ์ ถาวร NEWAZA (U18 THA) อันดับ 3 ทองแดง 16 -60 ชาย
สรุปผลการแข่งขัน :  3 เหรียญทองแดง

 

ชื่อการแข่งขัน : ยูโดชิงแชมป์จังหวัดสมุทสาคร ประจำปี 2562

สถานที่ : มหาวิทยาลัยกีฬาแห่งชาติจังหวัดสมุทสาคร

วันที่ : 17-18 สิงหาคม 2562

# ชื่อเล่น ชื่อ – นามสกุล ประเภท ผลการแข่งขัน รางวัล รุ่น(อายุ) รุ่น(น้ำหนัก) เพศ
1 หนึ่ง วัชระ คำผาย ยูโด อันดับ 2 เงิน 8 -50 ชาย
2 อลิส กันยารักษ์ นาชัยยา ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 8-10 -30 หญิง
3 มีมี่ ไปรยดา ไพโรจน์กุลมณี ยูโด อันดับ 1 ทอง 8-10 -30 หญิง
4 เกรซ พัชรพร เกษมสุข ยูโด อันดับ 1 ทอง 10-12 -30 หญิง
5 อิ๊ฟ น้ำเพชร วรพุธ ยูโด อันดับ 2 เงิน 10-12 -34 หญิง
6 จูน พัชรี นันสุนีย์ ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 10-12 -38 หญิง
7 จา พีระศิลป์ สวนเมือง ยูโด อันดับ 2 เงิน 10-12 -45 ชาย
8 ฟลุค ธนชา เมืองศรี ยูโด อันดับ 2 เงิน 10-12 -40 ชาย
9 ซอล์ฟ เอสรา เทพพิทักษ์ ยูโด อันดับ 1 ทอง 10-12 -45 ชาย
10 แกรมมี่ สุกัญญา พวงแก้ว ยูโด อันดับ 1 ทอง 10-12 -46 หญิง
11 เกี๊ยว ปภัสสร เกษมสุข ยูโด อันดับ 2 เงิน 10-12 +46 หญิง
12 บอย อดิเทพ แซ่เล่า ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 10-12 -35 ชาย
13 บีบี กิตติภพ แสงสว่าง ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 10-12 50 ชาย
14 อิคคิว ธนัฐชัย น้ำใจศิลธรรม ยูโด อันดับ 2 เงิน 10-12 +50 ชาย
15 เพชร สุรเทพ โคตรมงคูล ยูโด อันดับ 1 ทอง 12-14 -50 ชาย
16 ปังปอน เพ็ญนภา นามสีลี ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 14-16 -42 หญิง
17 โดนัท ขนิษฐา ไพโรจน์กุลมณี ยูโด อันดับ 2 เงิน 14-16 -63 หญิง
18 เบส ณัฐพงษ์ ถาวร ยูโด อันดับ 3 ทองแดง 14-16 -60 ชาย
สรุปผลการแข่งขัน

1 ถ้วยคะแนนรวม

รุ่น 10-12 ปี

ได้รับ 5 เหรียญทอง

ได้รับ 7 เหรียญเงิน

ได้รับ 6 เหรียญทองแดง

ชื่อการแข่งขัน : ยูยิตสู ชิงถ้วยผู้บัญชาการทหารอากาศ ประจำปี 2562

สถานที่ : สโมสรนายทหารอากาศชั้นประทวน

วันที่ : 24 สิงหาคม 2562

 การแข่งขันประเภท FIGHTING

# ชื่อเล่น ชื่อ – นามสกุล ประเภท ผลการแข่งขัน รางวัล รุ่น(อายุ) รุ่น(น้ำหนัก) เพศ
1 หนึ่ง วัชระ คำผาย FIGHTING อันดับ 1 ทอง 10 -50 ชาย
2 อลิส กันยารักษ์ นาชัยยา FIGHTING อันดับ 1 ทอง 10 -30 หญิง
3 มีมี่ ไปรยดา ไพโรจน์กุลมณี FIGHTING อันดับ 2 เงิน 10 -30 หญิง
4 อิ๊ฟ น้ำเพชร วรพุธ FIGHTING อันดับ 2 เงิน 10 -34 หญิง
5 จูน พัชรี นันสุนีย์ FIGHTING อันดับ 1 ทอง 10 -38 หญิง
6 จา พีระศิลป์ สวนเมือง FIGHTING อันดับ 2 เงิน 10 -45 ชาย
7 ฟลุค ธนชา เมืองศรี FIGHTING อันดับ 2 เงิน 10 -40 ชาย
8 ซอล์ฟ เอสรา เทพพิทักษ์ FIGHTING อันดับ 1 ทอง 10 -45 ชาย
9 แกรมมี่ สุกัญญา พวงแก้ว FIGHTING อันดับ 1 ทอง 13 -46 หญิง
10 บอย อดิเทพ แซ่เล่า FIGHTING อันดับ 2 เงิน 13 -35 ชาย
11 บีบี กิตติภพ แสงสว่าง FIGHTING อันดับ 2 เงิน 13 50 ชาย
12 เพชร สุรเทพ โคตรมงคูล FIGHTING อันดับ 1 ทอง 15 -50 ชาย
13 ปังปอน เพ็ญนภา นามสีลี FIGHTING อันดับ 3 ทองแดง 15 -42 หญิง
14 โดนัท ขนิษฐา ไพโรจน์กุลมณี FIGHTING อันดับ 3 ทองแดง 16 -63 หญิง
15 ซี ภาษิต  แซ่เล่า FIGHTING อันดับ 2 เงิน 16 -60 ชาย
16 เบส ณัฐพงษ์ ถาวร FIGHTING อันดับ 3 ทองแดง 16 -60 ชาย
สรุปผลการแข่งขัน

6 เหรียญทอง

7 เหรียญเงิน

3 เหรียญทองแดง

 

 การแข่งขันประเภท NEWAZA

# ชื่อเล่น ชื่อ – นามสกุล ประเภท ผลการแข่งขัน รางวัล รุ่น(อายุ) รุ่น(น้ำหนัก) เพศ
1 หนึ่ง วัชระ คำผาย NEWAZA อันดับ 3 ทอง 10 -50 ชาย
2 อลิส กันยารักษ์ นาชัยยา NEWAZA อันดับ 1 ทอง 10 -30 หญิง
3 มีมี่ ไปรยดา ไพโรจน์กุลมณี NEWAZA อันดับ 1 เงิน 10 -30 หญิง
4 จา พีระศิลป์ สวนเมือง NEWAZA อันดับ 2 เงิน 10 -45 ชาย
5 ฟลุค ธนชา เมืองศรี NEWAZA อันดับ 1 เงิน 10 -40 ชาย
6 แกรมมี่ สุกัญญา พวงแก้ว NEWAZA อันดับ 2 ทอง 13 -46 หญิง
7 บอย อดิเทพ แซ่เล่า NEWAZA อันดับ 3 ทองแดง 13 -35 ชาย
8 บีบี กิตติภพ แสงสว่าง NEWAZA อันดับ 2 เงิน 13 50 ชาย
9 เพชร สุรเทพ โคตรมงคูล NEWAZA อันดับ 3 ทอง 15 -50 ชาย
10 ปังปอน เพ็ญนภา นามสีลี NEWAZA อันดับ 2 ทองแดง 15 -42 หญิง
11 โดนัท ขนิษฐา ไพโรจน์กุลมณี NEWAZA อันดับ 3 ทองแดง 16 -63 หญิง
12 ซี ภาษิต  แซ่เล่า NEWAZA อันดับ 2 ทองแดง 16 -60 ชาย
13 เบส ณัฐพงษ์ ถาวร NEWAZA อันดับ 3 ทองแดง 16 -60 ชาย
สรุปผลการแข่งขัน

4 เหรียญทอง

4 เหรียญเงิน

5 เหรียญทองแดง

 

โค้ชเจมส์ ครูอาสา ผู้ถ่ายทอดวิชายูยิสสูให้กับเด็กๆ 

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มูลนิธิบ้านนกขมิ้นนั้นได้เปิดรับจิตอาสาเข้ามาเป็นจำนวนมาก จิตอาสาทุกคนที่เข้ามานั้น ล้วนมีความตั้งใจ ที่จะได้ช่วยเหลือเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดสถานที่ การบริจาคของ สอนพิเศษ และกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย แต่ด้วยระยะเวลาที่จำกัดหรือบางกิจกรรมก็ได้กำหนดระยะเวลาไว้แล้วทำให้กิจกรรมนั้นๆบรรลุเป้าหมายและสำเร็จไปได้ด้วยดี แต่ถึงแม้จะสิ้นสุดกิจกรรมแล้ว  ก็ยังคงเหลือไว้ซึ่งความรัก ความผูกพันและความปรารถนาดี ที่จิตอาสาทุกคนมีให้กับเด็กๆ  แต่สำหรับ โค้ชเจมส์  โค้ชผู้สอนยูโดและยูยิสสูให้กับเด็กๆ มาเป็นเวลานานกว่า 6 ปี คำว่า “เวลา” ไม่ใช่ตัวกำหนดอีกต่อไป แต่เป็นหัวใจของโค้ชเจมส์ที่ตั้งใจว่าจะถ่ายทอดวิชายูโดและยูยิสสูต่อไปจนกว่าจะหมดเเรง

โค้ชเจมส์เริ่มต้นสอนเด็กๆในมูลนิธิบ้านนกขมิ้นตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 และพาเด็กๆเข้าสู่การแข่งขันระดับเวทีตั้งแต่ช่วงแรกเริ่ม เพื่อสะสมประสบการณ์ให้กับเด็กๆเอง ปัจจุบันเด็กๆยังคงฝึกซ้อมและออกแข่งขันสะสมเหรียญและประสบการณ์ สถานที่ฝึกซ้อม ณ มูลนิธิบ้านนกขมิ้นกรุงเทพ ในส่วนของสถานที่ฝึกซ้อมและอุปกรณ์นั้น ได้รับการสนับสนุนจากผู้สนับสนุนทั้งสิ้น  มูลนิธิบ้านนกขมิ้นขอขอบพระคุณ สำหรับความเมตตาของทุกท่านที่นำเด็กๆมาสู่เส้นทางที่เป็นโอกาสยิ่งใหญ่สำหรับเขาและส่งเด็กๆสู่เส้นทางที่ทำให้ชีวิตของเขาดียิ่งขึ้น

ประวัติความเป็นมาของ ‘ยิวยิตสู’

จริงๆ แล้ว ‘ยิวยิตสู’ ในภาษาญี่ปุ่นจะออกเสียงว่า ‘จูจุสึ’ 柔術 Jūjutsu ซึ่งคำว่า จูจุสึ ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีความหมายว่า ‘ศิลปะของความอ่อน’ ในประวัติศาสตร์ของประเทศญี่ปุ่นมีการบันทึกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ในหลายๆ แขนงมาอย่างยาวนาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับตำนานการสร้างประเทศของพวกเขา รวมไปถึงการสถาปนาราชวงศ์แห่งแดนอาทิตย์อุทัย หรือที่หลายๆ คนอาจจะรู้จักกันในนามนักรบโนมิ โน เซคูมิ

เทคนิคที่ใช้ในการต่อสู้ก็ประกอบไปด้วยการทุ่ม ต่อย เตะ กอดล็อกคู่ต่อสู้ ซึ่งจะเป็นการต่อสู้กับอาวุธด้วยมือเปล่าที่มีชื่อเต็มๆ ว่า นิกอน คอร์ยุ ยิวยิตสู ที่มีมายาวนานตั้งแต่ในช่วงปี ค.ศ.1333-1573 ตามที่มีบันทึกในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และมีการบ่งบอกถึงระบบการต่อสู้ในสนามรบที่สามารถใช้ร่วมกับอาวุธชนิดต่างๆ ศิลปะการต่อสู้เหล่านี้มีชื่อเรียกเฉพาะที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น โคกุโซคุ, ยาวาร่า, คูมูยาจิ, ฮาคุดะ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้รวมอยู่ในสิ่งที่เรียกว่า เซนโกคุ ยิวยิตสู ที่เป็นการต่อสู้ด้วยอาวุธเบากับคู่ต่อสู้ที่ใช้อาวุธหนัก หรือมีเกราะป้องกันตัวในสนามรบอย่างเช่นนักรบซามูไร ที่ปกติจะใช้ดาบในการต่อสู้ แต่ศิลปะการป้องกันตัวชนิดนี้จะไม่พึ่งพาดาบในการต่อสู้

เมื่อ ‘ยิวยิตสู’ เข้ามาสู่ประเทศไทย

ในช่วงปี พ.ศ.2464 ยิวยิตสูถูกนำมาเผยแพร่ในไทยอย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมทั้งในไทยเองและในต่างประเทศ ต่อมาเมื่อเกิดกีฬายูโดขึ้น ยิ่งทำให้ยิวยิตสูจางหายไปเรื่อยๆ ซึ่งหลายคนมองว่ายิวยิตสูมีความรุนแรงเกินไป แรงเกินกว่าที่จะมาใช้แข่งขันกันเป็นกีฬาได้และหันไปเล่นกีฬาที่เบากว่าอย่างยูโดแทน

อ้างอิงแหล่งที่มา

Marsmag. (2561). ‘ยูยิตสู’ ศิลปะป้องกันตัวสุดอันตราย สู่กีฬาสมัยใหม่สไตล์ญี่ปุ่น. Retrived Aug 29, 2019,/ from https://mgronline.com/marsmag/detail/9610000079772

Share is :